ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น
ต่อมใต้สมองเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริงที่อยู่ติดต่อกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโพทาลามัส มีต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อ เดียวกันโดยแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
- ต่อมใต้สมองส่วนกลาง
- ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
- ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
- ต่อมใต้สมองส่วนกลาง
- ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) คือ ฮอร์โมนหลักที่ผลิตจาก ต่อมใต้สมอง(Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของอวัยวะทุกส่วน ของร่างกาย การสร้างเซลล์ใหม่, การทำงานของระบบสมอง และ การทำงานของเอนไซม์ ระดับของโกรทฮอร์โมน จะลดต่ำลงเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยผู้ใหญ่ หากมีการหลั่งโกรทฮอร์โมนมากเกิน จะทำให้เป็นโรคอะโครเมกาลี (acromegaly) คือจมูก ปาก มือ เท้าใหญ่
ก คนที่มีร่างกายสูงและเตี้ยผิดปกติ เนื่องจากร่างกายขาดโกรทฮอร์โมน
ข อาการของผู้ป่วยอะโครเมกาลี
ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Conadotrophin hormone) ประกอบด้วยฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิล F.S.H. และฮอร์โมนลูทิไนซ์ L.H.
- ในเฑศหญิง ฮอร์โมน F.S.H. กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลแบ่งเซลล์และสร้าง ฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen) และการหลั่งของ L.H. ทำให้เกิดการตกไข่ เกิดคอร์ปัสลูเทียม และสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone)
- ในเพศชาย ฮอร์โมน F.S.H. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและการสร้างอสุจิ ส่วนฮอร์โมน L.H. กระตุ้นกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียลให้หลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone)
ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin hormone) หรือ A.C.T.H ทำหน้าที่กระตุ้น
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ
ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone) หรือ TSH ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์
ให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะควบคุมโดยฮอร์โมนประสาทที่สร้างมาจาก
ไฮโพทาลามัส
- ในเฑศหญิง ฮอร์โมน F.S.H. กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลแบ่งเซลล์และสร้าง ฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen) และการหลั่งของ L.H. ทำให้เกิดการตกไข่ เกิดคอร์ปัสลูเทียม และสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone)
- ในเพศชาย ฮอร์โมน F.S.H. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและการสร้างอสุจิ ส่วนฮอร์โมน L.H. กระตุ้นกลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียลให้หลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone)
ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin hormone) หรือ A.C.T.H ทำหน้าที่กระตุ้น
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ
ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone) หรือ TSH ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์
ให้หลั่งฮอร์โมนตามปกติ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะควบคุมโดยฮอร์โมนประสาทที่สร้างมาจาก
ไฮโพทาลามัส
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
เซลนิวโรซีครีทอรี (neurosecretory cell)
วาโซเพรสซิน (Vasopressin) หรือฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ADH มีหน้าที่ดูดน้ำกลับของหลอดไต และกระตุ้นให้หลอดเลือดบีบตัว ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะเกิดการเบาจืดทำให้ปัสสาวะบ่อย
ออกซีโทซิน (Oxytocin) ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบและอวัยวะภายใน กระตุ้นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนม ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมามากตอนคลอด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวขณะคลอด
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
- เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากที่สุด
- รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ โดยมีเยื่อ Isthmus เชื่อมกลาง อยู่บริเวณคอหอย
- โครงสร้างภายในประกอบด้วยกลุ่มเซลล์เรียงตัวเป็นวงมากมายภายในมีช่องกลวงบรรจุสารคอลลอยด์เรียกกลุ่มเซลล์แต่ละวงนี้ว่า Thyroid follicle ซึ่งมีหลายหมื่นอัน
- ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์จะมีปริมาณไอโอดีนสูงมากกว่าเนื้อเยื่ออื่นๆ ถึง 100 เท่า
ฮอร์โมนสำคัญของต่อมไทรอยด์ มี 2 ชนิด คือ1. ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin)
2. ฮอร์โมนคัลซิโตนิน (calcitonin)
- รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อ โดยมีเยื่อ Isthmus เชื่อมกลาง อยู่บริเวณคอหอย
- โครงสร้างภายในประกอบด้วยกลุ่มเซลล์เรียงตัวเป็นวงมากมายภายในมีช่องกลวงบรรจุสารคอลลอยด์เรียกกลุ่มเซลล์แต่ละวงนี้ว่า Thyroid follicle ซึ่งมีหลายหมื่นอัน
- ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์จะมีปริมาณไอโอดีนสูงมากกว่าเนื้อเยื่ออื่นๆ ถึง 100 เท่า
ฮอร์โมนสำคัญของต่อมไทรอยด์ มี 2 ชนิด คือ1. ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin)
2. ฮอร์โมนคัลซิโตนิน (calcitonin)
ฮอร์โมนไทรอกซิน
(Thyroxin)
(Thyroxin)
ภาพตัดขวางของต่อมไทรอยด์ แสดงไทรอยด์ฟอลลิเคิล
ก.ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ ข.ภาพวาด
ก.ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ ข.ภาพวาด
อวัยวะเป้าหมาย
คือ เซลล์ของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ สมอง หัวใจ ฯลฯ
หน้าที่ของไทรอกซิน1. ควบคุมเมตาโบลิซึมของร่างกายทั่วๆ ไป
2. ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการทางสมอง
3. กระตุ้นการเกิดเมตามอร์โฟซิสในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณไทรอกซิน
1. Cretinism
สาเหตุไทรอกซินต่ำในวัยเด็ก
อาการ - ร่างกายเตี้ย แคระแกร็น ไม่ได้สัดส่วน
- พูดช้า พุงยื่น
- สติปัญญาอ่อน
3. คอพอก (goiter) มี 3 ประเภท
3.1 คอพอกธรรมดา (Simple goiter)สาเหตุ ขาดไอโอดีน ทำให้สร้างไทรอกซินไม่ได้
อาการ คอบวมโต
การแก้ไข กินอาหารทะเล เกลืออนามัย
3.2 คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter)
สาเหตุ เกิดอาการเนื้องอกของต่อม ทำให้สร้างไทรอกซินมากเกินไป
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมสูง
- ร่างกายซูบผอม
3.3 คอพอกเป็นพิษและตาโปน (Exophthalmic goiter)สาเหตุ เกิดอาการเนื้องอกของต่อม และ/หรือ TSH จากต่อมใต้สมองส่งมากระตุ้นให้สร้าง
ไทรอกซินมากเกินไป
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมสูง
- ร่างกายซูบผอม
- มีอาการตาโปนเนื่องจากความดันในลูกตาสูง มีลักษณะตาโปนด้วย
สาเหตุไทรอกซินต่ำในวัยเด็ก
อาการ - ร่างกายเตี้ย แคระแกร็น ไม่ได้สัดส่วน
- พูดช้า พุงยื่น
- สติปัญญาอ่อน
2. Myxedema
สาเหตุ ไทรอกซินต่ำในผู้ใหญ่
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมต่ำ
- มีอาการบวมที่มือ เท้า ใบหน้า
- ผิวหนังแห้ง ตกสะเก็ด
- ความจำเสื่อม
สาเหตุ ไทรอกซินต่ำในผู้ใหญ่
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมต่ำ
- มีอาการบวมที่มือ เท้า ใบหน้า
- ผิวหนังแห้ง ตกสะเก็ด
- ความจำเสื่อม
3. คอพอก (goiter) มี 3 ประเภท
3.1 คอพอกธรรมดา (Simple goiter)สาเหตุ ขาดไอโอดีน ทำให้สร้างไทรอกซินไม่ได้
อาการ คอบวมโต
การแก้ไข กินอาหารทะเล เกลืออนามัย
3.2 คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter)
สาเหตุ เกิดอาการเนื้องอกของต่อม ทำให้สร้างไทรอกซินมากเกินไป
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมสูง
- ร่างกายซูบผอม
3.3 คอพอกเป็นพิษและตาโปน (Exophthalmic goiter)สาเหตุ เกิดอาการเนื้องอกของต่อม และ/หรือ TSH จากต่อมใต้สมองส่งมากระตุ้นให้สร้าง
ไทรอกซินมากเกินไป
อาการ - ร่างกายมีเมตาโบลิซึมสูง
- ร่างกายซูบผอม
- มีอาการตาโปนเนื่องจากความดันในลูกตาสูง มีลักษณะตาโปนด้วย
ภาพ ก แสดงคอหอยพอกชนิดธรรมดา (simple goiter)ภาพ ข แสดงคอหอยพอกชนิดเป็นพิษ (exophthalmic goiter)
ฮอร์โมนคัลซิโตนิน
(Calcitonin)
อวัยวะเป้าหมาย
คือ กระดูกและไต
หน้าที่ของคัลซิโทนิน (Calcitonin)มีหน้าที่ควบคุมระดับสมดุลย์ของ Ca และ PO ในเลือด โดยลดปริมาณของ Ca และ PO ซึ่งลดได้โดยการ
- เพิ่มการสะสม Ca และ PO ที่กระดูกและฟัน
- เพิ่มการขับ Ca และ PO ที่ลำไส้ โดยอาศัยวิตามิน D ช่วย
ความผิดปกติ
ความผิดปกติเกี่ยวกับระดับของ Calcitonin ไม่ค่อยปรากฎในทางการแพทย์
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
- เป็นต่อมเล็กๆ สีแดงสด 4 ต่อม ติดอยู่กับต่อมไทรอยด์
- เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญต่อชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมาก (แต่ไม่พบในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ)
ฮอร์โมนที่สร้างพาราธอร์โมน (parathormone)
อวัยวะเป้าหมาย
กระดูก ท่อไต และลำไส้เล็ก
หน้าที่ของ Parathormone1. เพิ่มการละลาย Ca2+ และ PO3- ออกจากกระดูกและฟัน
2. เพิ่มการดูด Ca2+ และ PO3- ที่ลำไส้ โดยอาศัยวิตามิน D ช่วย
3. เพิ่มการดูด Ca2+ และ PO3- กลับคืนที่ท่อของหน่วยไต
ความผิดปกติของปริมาณ Parathormone1. Hypoparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนต่ำเกินไป
อาการ - Ca2+ และ PO3- ในเลือดต่ำ
- กล้ามเนื้อชักกระตุก
- ปอดไม่ทำงาน
- เลือดแข็งตัวช้าเมื่อเกิดบาดแผล
การแก้ไข ฉีด Parathormone ร่วมกับวิตามิน D
2. Hyperparathyroidism เป็นความผิดปกติเนื่องจากพาราธอร์โมนมากเกินไป
อาการ - Ca2+ และ PO3- ในเลือดสูง
- Ca2+ สะสมมากที่หัวใจ ปอด ทำให้แข็ง
- เลือดแข็งตัวเนื่องจากเกิดบาดแผล
- กระดูกบาง ฟันหัก และผุง่าย
การแก้ไข ฉีด Calcitonin เพื่อต้านการทำงานของ Parathormone
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
ต่อมหมวกไตมีลักษณะเป็นต่อมขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยมครอบอยู่ทางส่วนบนของไตทั้ง 2 ข้างประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่แตกต่างกันและแยกออกจากกันอย่างชัดเจน คือ
- เนื้อเยื่อชั้นนอก เรียกว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) เจริญมาจากเนื้อชั้นกลาง (mesoderm) สร้างฮอร์โมนประเภทสารสเตียรอยด์ได้มากชนิดที่สุด
- เนื้อเยื่อชั้นใน เรียกว่า อะดรีนัลเมดุลลา (adrenal medulla) เจริญมาจากเนื้อชั้นนอก (ectoderm) สร้างฮอร์โมนจำพวก Amine , Polypeptide
- เนื้อเยื่อชั้นนอก เรียกว่า อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) เจริญมาจากเนื้อชั้นกลาง (mesoderm) สร้างฮอร์โมนประเภทสารสเตียรอยด์ได้มากชนิดที่สุด
- เนื้อเยื่อชั้นใน เรียกว่า อะดรีนัลเมดุลลา (adrenal medulla) เจริญมาจากเนื้อชั้นนอก (ectoderm) สร้างฮอร์โมนจำพวก Amine , Polypeptide
อะดรีนัล คอร์เทกซ ์
(Adrenal cortex)
(Adrenal cortex)
อะดรีนัล คอร์เทกซ์ สร้างฮอร์โมน 3 กลุ่ม คือ
2.1 กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) เช่น คอร์ติซอล Cortisol hormone ทำหน้าที่ ดังนี้
1. กระตุ้นการสลาย glycogen ไปเป็น glucose
2. กระตุ้นการสลายไขมันไปเป็นกรดไขมัน
3. เพิ่มการดูด Na+ กลับที่ท่อของหน่วยไต
ถ้า cortisol มากเกินไปจะเป็น Cushing's syndrome ซึ่งมีอาการสำคัญ คือ
- ไขมันสะสมมากตามใบหน้า หน้าท้อง ต้นขา
- ใบหน้ากลมนูนคล้ายพระจันทร์เต็มดวง (Moon face)
- ขาดประจำเดือนในหญิง
แผนภาพแสดงลักษณะของผู้เป็นโรคคูชิง (อ้วน ไขมันสะสม)
2.2 มิเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoids) เช่น Aldosterone hormone ทำหน้าที่ ดังนี้
1. ควบคุมเมตาโบลิซึมของเกลือแร่ เป็นสำคัญ
2. เพิ่มการดูด Na+ กลับ และเพิ่มการขับ K+ และ Cl- ทิ้งไปกับปัสสาวะ
2.3 อะดรีนัล เซกส์ ฮอร์โมน (Adrenal sex hormone)ได้แก่ ฮอร์โมนเพศต่างๆ คือ Estrogen , Progesterone และ Testosterone
ถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็น Addoson's disease ซึ่งมีอาการ คือ
- คนไข้จะซูบผอม
- ผิวหนังตกกระ
- ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ
-อาจถึงแก่ความตาย
1. ควบคุมเมตาโบลิซึมของเกลือแร่ เป็นสำคัญ
2. เพิ่มการดูด Na+ กลับ และเพิ่มการขับ K+ และ Cl- ทิ้งไปกับปัสสาวะ
2.3 อะดรีนัล เซกส์ ฮอร์โมน (Adrenal sex hormone)ได้แก่ ฮอร์โมนเพศต่างๆ คือ Estrogen , Progesterone และ Testosterone
ถ้าต่อมหมวกไตส่วนนอกถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จะทำให้เป็น Addoson's disease ซึ่งมีอาการ คือ
- คนไข้จะซูบผอม
- ผิวหนังตกกระ
- ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุ
-อาจถึงแก่ความตาย
ผู้ป่วยโรคแอดดิสัน
อะดรีนัล เมดุลลา
(Adrenal medulla)
อะดรีนัล เมดุลลา เป็นต่อมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบซิมพาเธติกสร้างฮอร์โมนสำคัญ 2 ชนิด คือ
- Adrenalin หรือ Epinephrine มีปริมาณมาก มีอวัยวะเป้าหมายคือ ตับ กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อเรียบ
- Noradrenalin หรือ Norepinephrine มีปริมาณน้อย มีอวัยวะเป้าหมาย คือ ตับ กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อเรียบ
หน้าที่ของ adrenalin
1. เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
2. เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
3. เพิ่มการใช้ O2 ของเซลล์ ทำให้เซลล์มีพลังงานมาก
4. กระตุ้นให้ artery เล็กๆ ที่อวัยวะภายในขยายตัว ช่วยให้การลำเลียงอาหาร O ไปให้อวัยวะได้มากขึ้น
5. หลั่งออกมามาก เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะฉุกเฉิน จึงเรียก adrenal medulla ที่สร้างฮอร์โมนนี้ว่า
"ต่อมฉุกเฉิน (The gland of Emergency)"
หน้าที่ของ Noradrenalin
มีหน้าที่เช่นเดียวกับ Adrenalin แต่มีฤทธิ์ต่ำกว่า และผลที่ได้ต่างไปจาก Adrenalin คือทำให้artery หดตัว
1. ฟอลลิเคิล (Follicle)
สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จะสร้างมากที่สุดในระยะ graafian follicle โดยปริมาณของเอสโตรเจนจะสูงสุดประมาณวันที่ 12 - 13 ของรอบเดือน (ก่อนตกไข่ 1 - 2 วัน)และปริมาณต่ำสุดประมาณวันที่ 1 - 5 ของรอบเดือน
หน้าที่ของเอสโตรเจน
1. ควบคุมลักษณะทางเพศอันดับ 2 ของหญิง
2. กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน LH จากต่อมสมองเพื่อให้เกิดการตกไข่ต่อมา
3. กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นในร่วมกับโปรเจสเตอโรน
หน้าที่ของเอสโตรเจน
1. ควบคุมลักษณะทางเพศอันดับ 2 ของหญิง
2. กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน LH จากต่อมสมองเพื่อให้เกิดการตกไข่ต่อมา
3. กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นในร่วมกับโปรเจสเตอโรน
2. คอร์ปัสลูเตียม ( Corpus luteum )
เป็นเนื้อเยื่อสีเหลืองที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจาก graafian follicle หลังตกไข่โดยการกระตุ้นจาก LH คอร์ปัสลูเตียมจะสร้างฮอร์โมนชนิดสำคัญที่สุดคือ โปรเจสเตอโรน ( progesterone ) ซึ่งจะมีปริมาณสูงสุดประมาณวันที่ 21-23 ของรอบเดือน ( หลังตกไข่ 1 สัปดาห์ ) และมีปริมาณต่ำสุดประมาณวันที่ 1-9 ของรอบเดือน
หน้าที่ของโปรเจสเตอโรน1. ยับยั้งการหลั่ง FSH และ LH เพื่อมิให้เกิดการเจริญของไข่
2. กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นในเพื่อเตรียมตั้งครรภ์
3. ควบคุมการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ
หน้าที่ของโปรเจสเตอโรน1. ยับยั้งการหลั่ง FSH และ LH เพื่อมิให้เกิดการเจริญของไข่
2. กระตุ้นการหนาตัวของเยื่อบุผนังมดลูกชั้นในเพื่อเตรียมตั้งครรภ์
3. ควบคุมการตั้งครรภ์ในช่วงแรก ๆ
3. รก ( Placenta )
สร้างฮอร์โมนสำคัญ คือ HCG ( Human Chorionic Gonadotropin )
หน้าที่ ไปรักษาสภาพของ Corpus luteum แทน LH และ HCG จะถูกขับออกมากับน้ำปัสสาวะ ได้ จึงใช้เป็นตัวตรวจสอบการต้งครรภ์ด้วย
หน้าที่ ไปรักษาสภาพของ Corpus luteum แทน LH และ HCG จะถูกขับออกมากับน้ำปัสสาวะ ได้ จึงใช้เป็นตัวตรวจสอบการต้งครรภ์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฟอลลิเคิล และผนังมดลูกในช่วงต่างๆ ของรอบประจำเดือน
ถือได้ว่าเป็นได้ทั้งต่อมมีท่อ และไร้ท่อ เช่นเดียวกับรังไข่ ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ คือ หลอดสร้างตัวอสุจิ(seminiferous tubule) และส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อคือ เซลล์อินเตอร์สติเชียล (interstitial cell of Laydigs) ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ชื่อ แอนโดรเจน (androgen) ซึ่งเป็นสารพวก steroids และที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ เทสโตสเตอโรน(testosteron) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้แสดงลักษณะที่สองของเพศชาย เช่น มีหนวด มีเครา มีขนตามรักแร้ตามอวัยวะเพศ เสียงแตก ไหล่กว้าง กล้ามเนื้อแข็งแรง ฯลฯ
ตำแหน่งของเซลล์อินเตอร์สติเชียลระหว่างหลอดสร้างอสุจิ
ต่อมไทมัส ( Thymus gland )
ต่อมไทมัสเป็นต่อมขนาดเล็ก เป็นพูของเนื้อเยื่อที่คล้ายกับต่อมน้ำเหลือง มี 2 พู อยู่ที่ขั้วหัวใจ มีความสำคัญในช่วงอายุน้อย ในผู้ใหญ่ต่อมาจะฝ่อสลายไป จึงเป็นต่อมไร้ท่อที่มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น สร้างฮอร์โมนไทโมซิน ( thymosin ) เพื่อกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีจากพลาสมาเซลล์ในม้าม และต่อมน้ำเหลือง และยังสร้างฮอร์โมนไทโมวิดิน ( thymovidin ) ยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ( คล้ายฮอร์โมนเมลาโตนินจาก ต่อมไพเนียล )
ต่อมไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans)
ต่อมไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ เป็นกลุ่มเซลล์เล็กๆ จำนวนมากกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ในตับอ่อน เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดเล็กที่สุด และจำนวนมากที่สุด (ประมาณ 2 ล้านต่อม) เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 200 - 300 ไมครอนประกอบด้วยเซลล์ต่างกัน 2 แบบ คือ- บีตาเซลล์
- แอลฟาเซลล์
- แอลฟาเซลล์
บีตาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก และอยู่ด้านใน สร้างฮอร์โมนชื่อ อินซูลิน (insulin) อวัยวะเป้าหมายคือ เซลล์กล้ามเนื้อและตับ มีหน้าที่ปรับระดับน้ำตาล glucose ในเลือดให้เป็นปกติ ทำให้มีการใช้ glucose ในเนื้อเยื่อมากขึ้น และช่วยให้น้ำตาลในเลือดกลับเข้าไปในเซลล์และรวมกันเป็น glycogen สะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ
หน้าที่ของฮอร์โมนอินซูลิน
1. ลดระดับน้ำตาล glucose ในเลือดโดย
1.1 เพิ่มการซึมผ่าน glucose เข้าไปในเซลล์ได้มากขึ้น
1.2 กระตุ้นให้เซลล์ใช้ glucose สลายพลังงาน
1.3 กระตุ้นให้เซลล์สร้าง glycogen จาก glucose เก็บสะสมไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อ
2. กระตุ้นการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโน
3. กระตุ้นการสร้างไขมันจากกรดไขมัน
ความผิดปกติเกี่ยวกับปริมาณอินซูลิน- ถ้าขาดอินซูลินจะเป็นโรคเบาหวาน
แอลฟาเซลล์ เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ มีปริมาณน้อย สร้างฮอร์โมนชื่อ กลูคากอน (glucagon) อวัยวะเป้าหมายคือ ตับ มีหน้าที่กระตุ้นให้ glycogen เปลี่ยนไป glucose ในกระแสเลือด
หน้าที่ของกลูคากอน
1. เพิ่มระดับ glucose ในเลื อด โดยกระตุ้นการสลาย glycogen จากตับให้เป็นน้ำตาล glucose
2. กระตุ้นการสลายโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
3. กระตุ้นการสลายไขมันให้เป็นไขมัน
ดังนั้น จะเห็นว่า กลูคากอน จะทำหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลิน จึงเรียก กลูคากอน เป็น Catabolic hormone ถ้าขาด กลูคากอน ไม่มีผลมากนัก เพราะมี hormone อื่นๆ ทำหน้าที่แทนได้ เช่น คอร์ติซอล จากอัลดรีนัลคอร์เทกซ์ เป็นต้น
ข้อควรทราบเพิ่มเติม
- ระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติจะไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เลือด 100
ต่อมไพเนียล (pineal gland)
อยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้ คือ เมลาโทนิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่งโกนาโดโพรฟินให้น้อยลง ต่อมไพเนียลเกิดเป็นมะเร็งแล้วสร้างเมลาโทนินไม่ได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ