ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของเด็กหญิงสกุณา หวังดี ค่ะ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบขับถ่าย

การกำจัดของเสียออกทางไต

ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือเปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นในมีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 6เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต ภายในมีหน่วยไตเล็ก  (nephron)  อยู่เป็นจำนวนมากซึ่งเป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งต้น เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman s capsule) มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วยภายในแอ่งจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไตและมีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ที่บริเวณท่อของหน่วยไตจะมีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุน้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโนรวมทั้งน้ำกลับคืนสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ ที่เหลือคือ น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามหลอดไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ในวันหนึ่งๆ ร่างกายจะขับน้ำปัสสาวะออกมาประมาณ 1 – 1.5 ลิตร



น้ำปัสสาวะจะประกอบไปด้วยน้ำและยูเรียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแร่ธาตุมีอยู่เล็กน้อย ถ้ามีการตกตะกอนของแร่ธาตุไปอุดตันทางเดินท่อปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะลำบาก เรียกลักษณะอาการอย่างนี้ว่า “ โรคนิ่ว ”
เมื่อไตผิดปกติจะทำให้สารบางชนิดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง กรดอะมิโน น้ำตาลกลูโคส เป็นต้น ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียมหรืออาจจะใช้การปลูกไตให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้

การกำจัดของเสียออกทางลำไส้ใหญ่
            กากอาหารที่เหลือกจากการย่อย  จะถูกลำเลียงผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่  โดยลำไส้ใหญ่จะทำหน้าที่สะสมกากอาหารและจะดูดซึม  สารอาหารที่มีประโยชน์  ต่อร่างกายได้แก่  น้ำ  แร่ธาตุ  วิตามิน  และกลูโคส  ออกจากกากอาหาร  ทำให้กากอาหารเหนียวและข้นจนเป็นก้อนแข็ง  จากนั้นลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง ขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก  ที่เรียกว่า  อุจจาระ

การถ่ายอุจจาระเป็นปกติของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป  ซึ่งในบางครั้งการถ่ายอุจจาระอาจผิดปกติได้  เนื่องจากมีอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานานหลายวัน  ซึ่งขณะที่อุจจาระตกค้างอยู่นี้  น้ำหรือของเหลวอื่นในอุจจาระจะถูกผนังลำไส้ใหญ่ดูดซึมกลับเข้าไปสู่หลอดเลือดทำให้อุจจาระมีลักษณะแข็ง  เกิดความยากลำบากในการถ่าย  อาการนี้เรียกว่า  ท้องผูก
ผู้ที่ท้องผูกจะมีอาการหลายอย่าง  เช่น  รู้สึกแน่นท้อง  อึดอัด  บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรือปวดหลังด้วย  แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อถ่ายอุจจาระออกมา  ผู้ที่ท้องผูกเป็นเวลาหลายวัน  เมื่อถ่ายอุจจาระจะต้องใช้แรงเบ่งมาก  จึงทำให้เป็นโรคริดสีดวงทวารได้

อาการท้องผูกเกิดจากหลายสาเหตุ  ได้แก่  กินอาหารที่มีกากหรือใยอาหารน้อยเกินไปถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา  เกิดอารมณ์เครียดและวิตกกังวล  สูบบุหรี่จัด  ดื่มน้ำชากาแฟมากไป  ตลอดจนกินอาหารรสจัด
    การป้องกันการเกิดอาการท้องผูกสามารถทำได้หลายวิธี  ได้แก่
                      1. กินอาหารที่มีกากหรือใยอาหารสูง 
                      2. ถ่ายอุจจาระเป็นเวลานาน
                      3.ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน
                      4.งดสูบบุหรี่  และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชากาแฟ
                      5.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
                      6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
            ผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ   เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ เหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99เปอร์เซ็นต์ สารอื่นๆ อีก เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ สารอินทรีย์พวกยูเรีย และมีน้ำตาล  แอมโมเนีย กรดแล็กติก และกรดอะมิโนเล็กน้อย
โครงสร้างภายในต่อมเหงื่อจะมีท่อขดอยู่เป็นกลุ่มและมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบ หลอดเลือดฝอยเหล่านี้จะลำเลียงของเสียมายังต่อมและจะแพร่เข้าสู่ท่อในต่อมเหงื่อ จากนั้นของเสียซึ่งก็คือ เหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อ ซึ่งมีปากท่อเปิดอยู่
ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น ชนิด คือ
1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย ยกเว้นที่ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน   ต่อมเหงื่อเหล่านี้ติดต่อกับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมเหงื่อขนาดเล็กนี้สร้างเหงื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา แต่มักสังเกตไม่ค่อยได้เพราะมีการระเหยไปตลอดเวลาเช่นกัน เมื่ออุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงขึ้นหรือขณะออกกำลังกาย จะมีการขับเหงื่อออกมาจะเพิ่มขึ้นและเห็นได้ชัด
เหงื่อจากต่อมเหงื่อขนาดเล็กเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ ซึ่งได้แก่ เกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอินทรีย์พวกยูเรีย และสารอื่นอีกเล็กน้อย เช่น แอมโมเนีย กรดอะมิโน น้ำตาล กรดแลกติก

 2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางแห่ง ได้แก่ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอก จมูก อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก และจะเปิดที่รูขนใต้ผิวหนัง ไม่เปิดโดยตรงที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมชนิดนี้จะทำงานตอบสนองต่อการกระตุ้นทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นซึ่งก็คือกลิ่นตัว นั่นเอง

ผิวหนังนอกจากจะทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของเหงื่อแล้วยังทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยโดยความร้อน ที่ขับออกจากร่างกายทางผิวหนังมีประมาณร้อยละ 87.5 ของความร้อนทั้งหมด


การกำจัดของเสียทางปอด
ปอดเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส  เมื่ออากาศเข้าทางรูจมูกไปตามหลอดลมซึ่งแยกออกเป็น  2 กิ่ง  เข้าสู่ปอดทั้งสองข้างในช่องอก  ในปอดจะมีหลอดลมซึ่งแตกแขนงออกเป็นจำนวนมาก  และที่ปลายหลอดลมจะมีถุงลมเล็ก ๆ อากาศจากถุงลมจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยที่กระจายอยู่ที่ถุงลม  เมื่อออกซิเจนแพร่เข้าสู่หลอดเลือดแล้วจะรวมกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนกลับเข้าสู่หัวใจเพื่อสูบฉีดไปทั่วร่างกาย  ออกซิเจนจำนวนดังกล่าวจะเข้าร่วมในขบวนการเผาผลาญอาหาร  ทำให้ได้พลังงาน  น้ำ  และคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้น
การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์

ของเสียที่ถูกกำจัดออกนอกร่างกายทางปอด ได้แก่ น้ำ(ในรูปของไอน้ำ) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
ขั้นตอนในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปอด มีดังนี้
1.     น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญอาหารแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือด โดยจะละลายปนอยู่ในเลือด
2.     เลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่จะถูกลำเลียงส่งไปยังปอด โดยการลำเลียงผ่านหัวใจเพื่อส่งต่อไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
3.   เมื่อเลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่ผ่านไปถึงปอด ของเสียต่างๆที่สะสมอยู่ในเลือดจะแพร่ผ่านผนังของหลอดเลือดเข้าสู่ถุงลมของปอดแล้วลำเลียงไปตามหลอดลม เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย ทางจมูกพร้อมกับลมหายใจออก





การแลกเปลี่ยนแก๊สของเม็ดเลือด
การดูแลรักษาสุขภาพปอด
• รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายบริหารปอด พักผ่อนให้เพียงพอ ลด-เลิกสูบบุหรี่
• เมื่อมีอาการหวัด/ไอเรื้อรัง/มีเสมหะมาก/หอบ/เหนื่อย /ภูมิแพ้ รีบตรวจรักษา หรือปรึกษาแพทย์แต่เนิ่น ๆ
• หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด มีฝุ่น ละออง ไอ ควัน ของมลพิษ หรือสารเคมี และการระบายอากาศไม่ดี
• ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับฝุ่น สารเคมี หรือสารอันตรายควรตรวจสุขภาพเอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพปอดประจำปี
• เมื่อพบความผิดปกติต้องรีบรักษาและป้องกัน ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากฝุ่น  หรือสารเคมีที่เหมาะสมถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
• ขณะทำงานควรมีความรู้ถึงอันตราย และวิธีการป้องกันสารอันตรายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินงานเพื่อควบคุม  ปิดกั้น หรือลดปริมาณฝุ่นและสารอันตรายทั้งที่แหล่งกำเนิด  และที่กระจายในอากาศด้วย

6 ความคิดเห็น: