ในร่างกาลคนเรามีเซลล์หนึ่งที่ชื่อว่า นิวรอน neuron มันเป็นเซลล์ที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิดและจะเจริญเติบโตสูงสุดในช่วง 1 ปีแรก แน่นอนมันเป็นส่วนสำคัญของการทำงานของระบบประสาทเลยทีเดียว แต่ว่าอะไรคือระบบประสาท และทำไมมนุษย์ถึงจำเป็นต้องมีระบบนี้ในร่างกาย
Ref: http://nbmpub.com/blog/wp-content/uploads/2013/08/19neuron.gif
เรื่องมันมีอยู่ว่า คนเราจะดำเนินชีวิตไปในแต่ละวันจะต้องมีการรับรู้และการตอบสนอง และสิ่งที่ทำให้คนเราสามารถตอบสนองได้ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การพูดไปจนถึงการแสดงอารมณ์ต่างๆล้วนมาจากระบบประสาททั้งสิ้น นอกจากนี้ระบบนี้ยังควบคุมการทำงานของระบบอื่นๆอีกด้วย
เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถเรียกได้ว่าระบบประสาทนี้เป็นศูนย์กลางการสั่งงานของทุกระบบในร่างกายเลยทีเดียว มันน่าสนใจขึ้นมาแล้วล่ะสิ แต่ก่อนที่จะไปรู้จักระบบประสาทอย่างละเอียด อดใจรอนิดเดียว เราต้องมาเข้าใจระบบประสาทเบื้องต้นก่อน
ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย หลังจากที่รวมรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับระบบต่างๆของร่างกาย ก็จะมีการวิเคราะห์ และสั่งการให้มีการตอบสนองที่เหมาะสมเพื่อรักษาสมดุลต่างๆของร่างกาย ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งความต้องการที่สำคัญที่สุดของร่างกายคือเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด ว้าววววววว!!จะพูดได้อีกอย่างก็คือ ระบบประสาททำให้คนเรามีชีวิตและการตอบสนองนั่นเอง ทุกๆคนเริ่มอยากรู้กันแล้วหละสิ ว่าระบบประสาทที่กล่าวมานี้มีหน้าตาเป็นอย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไร มีกี่ชนิด มีอะไรบ้าง
งั้นเรามาเริ่มกันเลย!!
Ref: http://kidshealth.org/kid/htbw/headers_95113/K_htbw_brain1.gif
โครงสร้างของเซลล์ประสาท
ระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์สองประเภท คือ เซลล์ประสาท (nerve cell) หรือ นิวรอน (neuron) เป็นเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักของระบบประสาท และ เซลล์เกลีย (glial cell) เป็นเซลล์สำคัญรองจากนิวรอนมีหน้าที่ในการลำเลียงอาหารมาให้เซลล์ประสาท และเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างของระบบประสาท
เซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวเซลล์ (cell body) และ ใยประสาท (nerve fiber) เซลล์ประสาทเป็นเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าได้ ซึ่งมีบทบาทในการส่งสารสื่อประสาท
1. ตัวเซลล์ (cell body) เป็นส่วนของไซโทพลาซึมและนิวเคลียส ตัวเซลล์มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 - 25 ไมโครเมตร ภายในมีออร์แกเนลล์ที่สำคัญ คือ ไมโทคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม และกอลจิคอมเพล็กซ์
2. ใยประสาท (nerve fiber) แบ่งออกเป็น
- เดนไดรต์ (dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไป ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งตัวจะมีเดนไดรต์ได้หลายแขนง บริเวณแอกซอนอาจมีเยื่อจำพวกลิพิดมาหุ้ม เรียกว่า เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ซึ่งติดต่อกันเซลล์ชวันน์ (Schwann cell) ซึ่งเป็นเซลล์ค้ำจุนชนิดหนึ่ง
- แอกซอน (axon) เป็นส่วนของใยประสาทที่ทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากบริเวณเดนไดรต์ ไปสู่เซลล์อื่นๆเซลล์ประสาทตัว ในหนึ่งเซลล์จะมีแอกซอนเพียงหนึ่งแอกซอนเท่านั้น
ส่วนของแอกซอนตรงบริเวณร่อยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์เป็นบริเวณที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเรียกว่า โนด ออฟแรนเวียร์ (node of Ranvier)
เซลล์ประสาทจำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด ได้แก่
1. เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron)
คือ เซลล์ประสาทที่รับกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึก แล้วถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังเซลล์ประสาทสั่งการ อาจผ่านเซลล์ประสาทประสานงานหรือไม่ผ่านก็ได้
2. เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron)
คือ เซลล์ที่คอยส่งกระแสประสาทออกจากไขสันหลัง เพื่อนำกระแสประสาทไปยัง หน่วยปฏิบัติงาน เช่น กล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งอยู่ห่างไกลจากไขสันหลังมาก มักมีใยประสาทแอกซอนที่ยาว
3. เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron )
คือ เซลล์ที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึก กับเซลล์ประสาทสั่งการ ใยประสาทของเซลล์ประสาทประสานงานมักจะสั้น
เซลล์ประสาทแบ่งตามจำนวนแขนงที่แยกออกจากตัวเซลล์ แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว (unipolar neuron)
เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนของแอกซอนและเดนไดรต์ที่ใกล้ๆ ตัวเซลล์จะรวมเป็นเส้นเดียวกัน ทำให้มีแขนงแยกออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว เดนไดรต์มักจะยาวกว่าแอกซอนมาก พบที่ปมประสาทรากบน (dorsal root ganglion) ของไขสันหลัง
2. เซลล์ประสาทสองขั้ว (bipolar neuron)
เซลล์ประสาทมีแขนงแยกออกมาเป็น 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งเป็นแอกซอน และอีกแขนงหนึ่งเป็นเดนไดรต์ ความยาวของแขนงทั้งสองนี้ใกล้เคียงกัน พบได้ที่เรตินาของลูกตา คอเคลียของหูและเยื่อดมกลิ่นของจมูก มักทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก
3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว (multipolar neuron)
เซล์ประสาทจะมีหลายแขนงโดยเป็นแอกซอน 1 แขนง และเป็นเดนไดรต์ 2 หรือมากกว่าเซลล์ประสาทส่วนใหญ่ของร่างกายเป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว พบได้ในสมอง และไขสันหลัง มีแอกซอนยาว และเดนไดรต์สั้น ทำหน้าที่นำคำสั่งไปยังอวัยวะตอบสนอง
การเกิดกระแสประสาท
สิ่งเร้าชนิดต่างๆ เช่น ความร้อน เสียง สารเคมีที่มากระตุ้น หน่วยรับความรู้สึกจะเปลี่ยนให้เป็นกระแสประสาท
ฮอดจ์กิน ( A.L. Hodgkin ) และฮักซ์เลย์ ( A.F. Huxley ) ได้นำไมโครอิเล็กโทรด ( Microelectrode ) ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดแก้วยาวปลายเรียวต่อกับมาตรวัดความต่างศักย์ ( Oscilloscope ) จากนั้นเสียบปลายด้านหนึ่งของไมโครอิเล็กโทรดเข้าไปในแอกซอนของหมึกยักษ์และแตะปลายอีกข้างหนึ่งไว้ที่ผิวด้านนอกของแอกซอน ดังภาพ
แสดงการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายนอกและภายในเซลล์
จากการทดลองพบว่าสามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในกับภายนอกได้ -70 มิลลิโวลต์ ซึ่งเป็นศักย์เยื่อเซลล์ระยะพัก ( Resting Membrane Potential ) เยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของไอออนบางชนิด เช่น Na+ เรียกว่าช่องโซเดียม K+ เรียกว่าช่องโพแทสเซียม
ในระยะพัก ความเข้มข้นของ Na+ ภายนอกเซลล์มากกว่าภายในเซลล์ แต่ความเข้มข้นของ K+ ภายในเซลล์มากกว่าภายนอกเซลล์ ทำให้ Na+ จึงแพร่เข้าไปในเซลล์ผ่านช่องโซเดียม ในขณะที่ K+ แพร่ออกนอกเซลล์ผ่านช่องโพแทสเซียม แต่เซลล์ก็ยังสามารถดำรงความแตกต่างของความเข้มข้นในแต่ละบริเวณไว้ได้ เนื่องจากอาศัยพลังงานจาก ATP ในการที่จะผลัก Na+ ไปข้างนอกและดึง K+เข้ามาในเซลล์ ในอัตราส่วน 3 Na+ ต่อ 2 K+ เรียกกระบวนการนี้ว่า Sodium Potassium Pump
ภายในเซลล์ประสาทมีโปรตีนประจุลบ ซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่สามารถออกนอกเซลล์ได้ ทำให้ภายในเซลล์เป็นประจุลบ ประกอบกับการที่เซลล์ยอมให้ K+ จากภายในเซลล์ออกมาได้ดี ทำให้ภายนอกเซลล์เป็นประจุบวก
เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเซลล์ประสาทในระดับที่เซลล์สามารถตอบสนองได้ ( Threshold Potential ) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อเซลล์ คือ ทำให้ช่องโซเดียมเปิด Na+ จึงพรูเข้าไปในเซลล์ ภายในเซลล์จะเป็นลบน้อยลง และมีความเป็นบวกมากขึ้น ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก -70 mV เป็น +50 mV เรียกระยะนี้ว่า Depolarization หลังจากนั้นช่องโซเดียมจะปิด แต่ช่องโพแทสเซียมจะเปิด ทำให้ K+ พรูออกนอกเซลล์ ทำให้เซลล์สูญเสียประจุบวกและกลับกลายเป็นประจุลบ ความต่างศักย์ที่เยื่อเซลล์จะเปลี่ยนจาก +50 mV เป็น -70 mV กลับสู่สภาพเดิม เรียกระยะนี้ว่า Repolarization ดังภาพ
แสดงการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าขณะที่เซลล์ประสาทถูกกระตุ้น
การกระตุ้นเซลล์ประสาทในขณะที่ยังเกิด Action Potential อยู่ เซลล์ประสาทจะไม่ตอบสนอง เราเรียกระยะนี้ว่า Absolutely Refractory Period
การเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ดังกล่าวนี้เรียกว่า Action Potential หรือ Nerve Impulse การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะชักนำในเกิด Action Potential ในบริเวณถัดไป มีผลให้ Action Potential เคลื่อนที่ไปตามยาวของเส้นใยประสาทแบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกัน ( Core Conduction ) ในแอกซอนที่ไม่มี Myelin Sheath หุ้ม ดังภาพ
แสดงการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม
สำหรับ Myelinated Axon เยื่อไมอีลินจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ทำให้เกิด Action Potential จะเกิดเฉพาะบริเวณ Node of Ranvier ทำให้การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทเร็วว่า การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทแบบนี้เราเรียกว่า Saltatory Conduction
นอกจากนี้เส้นผ่านศูนย์กลางของ Axon ก็มีผลต่อการเคลื่อนที่ของประแสประสาท โดย Axon ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าAction Potential จะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า
การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท
เมื่อกระแสประสาทดำเนินมาถึงปลายของ Axon จะพบรอยต่อระหว่างเซลล์ประสาท เราเรียกว่า Synapse ซึ่งมีสองชนิด แต่ในที่นี้ จะอธิบายเฉพาะแบบ Chemical Synapse
Synapse นั้นจะมีช่องขนาดประมาณ 0.02 ไมโครเมตร ทำให้กระแสประสาทไม่สามารถผ่าน Synapse ได้ ตรงบริเวณของปลายของ Axon มีลักษณะโปร่งออก เรียกว่า Axon Terminal ซึ่งภายในมีสารสื่อประสาท ( Neurotransmitter ) บรรจุอยู่ใน Vesicleเมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึง Axon Terminal แล้ว Vesicle จะเคลื่อนที่รวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ ( Exocytosis ) และปล่อยสารสื่อประสาทออกมาในช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาท ( Synaptic Cleft ) แล้วไปจับกับโปรตีนตัวรับบนเยื่อหุ้มเซลล์บริเวณ Dendrite หรือCell Body เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์และเกิดการส่งกระแสประสาทต่อไป
สารสื่อประสาทที่เหลืออยู่ใน Synaptic Cleft จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ สารที่ได้จากการสลายอาจนำกลับไปสร้างสารสื่อประสาทใหม่ บางส่วนถูกกำจัดไปกับระบบเลือด ดังนั้นเซลล์ประสาทตัวถัดไป ( Postsynaptic cell ) จะถูกกระตุ้นเฉพาะเวลาที่ Axonของ Presynaptic Cell ปล่อย Neurotransmitter เท่านั้น
ยาระงับประสาทบางชนิด ระงับการปล่อยสารสื่อประสาท ในขณะที่สารจำพวกนิโคติน คาเฟอีน หรือแอมเฟตามีน จะไปกระตุ้นAxon ปล่อยสารสื่อประสาท ทำให้เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว สำหรับยาบางชนิดยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายสารสื่อประสาท
ตัวอย่างสารสื่อประสาท เช่น Acetylcholine, Norepineprine (NE), Epinephrine, Endophrine
โครงสร้างของระบบประสาท
ระบบประสาทของมนุษย์สามารถแบ่งตามโครงสร้างหน้าที่ได้ 2 ระบบคือ ระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทส่วนนอก
1. 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System หรือ CNS) คือศูนย์รวมของระบบประสาททั้งหมด มีหน้าที่ในการสั่งงานกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจทั้งหมดในร่างกาย และประมวลของสิ่งเร้าที่รับมาจากประสาทสัมผัสทั้งหมด ศูนย์ควบคุมระบบประสาทประกับด้วย 2 ส่วนคือ
ก. สมอง (Brain) คืออวัยวะที่ซับซ้อนที่สุดของระบบประสาท มีรอยหยัดเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการคิดและการจำ มีเยื่อหุ้มสมอง (Meninges) และกะโหลกทำหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือนจากแรงภายนอก สมองมี 2 ชั้นคือ
· ชั้นนอก ซึ่งมีสีเทา ประกอบด้วยตัวเซลล์ประสาทและ axon ที่ไม่มี myelin sheath
· ชั้นใน ซึ่งมีสีขาว ประกอบด้วย axon ที่มี myelin sheath
สมองประกอบด้วย 9 ส่วนเรียงจากบนสุดไปล่างสุดได้ดังนี้
· Cerebrum เป็นสมองส่วนบนสุดมีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ตั้งแต่บริเวณหน้าผากถึงท้ายทอย มีรอยหยักเป็นรองลึก แบ่งเป็นสมองซีกซ้ายและขวา และมีความสำคัญมากที่สุด แบ่งตามหน้าที่ได้อีก 4 ส่วนคือ
1. Frontal Lope ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การพูด การคิด ฯลฯ
2. Parietal Lope รับรู้ความรู้สึกต่างๆ ของร่างกาย
3. Temporal Lope รับรส กลิ่น และเสียง
4. Occipital Lope ควบคุมการรับรู้ทางตา และภาพ
· Cerebellum เป็นส่วนที่อยู่ใต้ cerebrum ทางด้านหลัง มีหน้าที่ควบคุมสมดุลของร่างกายและการทำงานของกล้ามเนื้อให้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย
· Thalamus เป็นส่วนที่อยู่ใต้ cerebrum บริเวณใกล้ๆ กลางกะโหลก เป็นศูนย์รวมของกระแสประสาททั้งหมดที่มาจากอวัยวะรับสัมผัส และส่งกระแสประสาทไปประมวลผลตามส่วนต่างๆ ของสมอง และยังควบคุมความรู้สึกต่างๆ ด้วย
· Hypothalamus เป็นส่วนที่อยู่ใต้ thalamus และติดกับต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการหลังฮอร์โมนต่างๆ hypothalamus ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย อุณหภูมิ การเต้นของหัวใจ ความหิว และอื่นๆ และยังมีการสร้างฮอร์โมนประสาทบางชนิด
· Limbic System เป็นกลุ่มเซลล์ที่อยู่รอบๆ hypothalamus ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมพฤติกรรมความก้าวร้าวต่างๆ (Aggressive Behaviors)
· Midbrain หรือสมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกริยาตอบสนอง (reflex) เกี่ยวกับการได้ยินและการมองเห็น เช่น การควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยตา การควบคุมการเปิดปิดของม่านตา เป็นต้น ในมนุษย์สมองส่วนนี้ถูกลดรูปเป็นเพียงแค่ Optic Lobe เท่านั้น
· Pons เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง สมองส่วนนี้อยู่ติดกับสมองส่วนกลาง มีหน้าที่ ควบคุมการหายใจ การเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า และ เป็นเส้นทางสื่อสารระหว่างสมองส่วนหน้าและซีรีเบลลัม
· Medulla oblongata เป็นสมองส่วนที่ติดกับสมองส่วน pons และไขสันหลัง สมองส่วนนี้มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การกลืน การจาม การสะอึก และ การอาเจียน นอกจากนั้น medulla oblongata ยังเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลังอีกด้วย
· Reticular Formation เป็นส่วนประกอบโครงร่างตาข่ายที่อยู่ภายในก้านสมอง มีหน้าที่เกี่ยวกับ การควบคุมการรับรู้ ความสนใจ และการนอนหลับ ตัวอย่างการทำงานของสมองส่วนนี้เช่น ถ้าเคยนอนอยู่ในที่ๆมีเสียงก่อสร้างทุกวันจนสามารถนอนหลับได้ เมื่อนอนหลับ การตื่นเพราะได้ยินเสียงก่อสร้าง จะเกิดขึ้นได้ยากกว่าการตื่นเมื่อยินเสียงอื่นที่ไม่คุ้นเคยแม้ว่าเสียงนั้นจะเบากว่าก็ตาม
ข. ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นส่วนที่ลากยาวจากสมองลงมาตามกระดูกสันหลัง เนื้อเยื้อไขสันหลังประกอบด้วย เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท (glia) ภายนอกไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังมีหน้าที่ป้องกันไขสันหลังจากอันตรายภายนอก ไขสันหลังมีหน้าที่หลักๆคือ การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ไขสันหลังยังมีหน้าที่ควบคุมการตอบสนองอัตโนวัติหรือ reflex ของร่างกาย เช่นควบคุมเท้าเมื่อเผลอเหยียบตะปู เป็นต้น
ในมนุษย์มีเส้นประสาทไขสันหลังทั้งหมด 31 คู่แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่ บริเวณคอ 8 คู่ บริเวณอก 12 คู่ บริเวณเอว 5 คู่ บริเวณกระเบนเหน็บ 5 คู่ และบริเวณก้นกบ 1 คู่
2. ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System หรือ PNS) ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมองและไขสันหลัง จากนั้นนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจบอกได้ว่า ระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบประสาทกลางกับอวัยวะต่างๆเช่น แขน ขา เป็นต้น
ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วย
· เส้นประสาทสมอง (cranial nerve) : เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง มีทั้งหมด 12 คู่
· เส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) : เส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง มีทั้งหมด 31 คู่ คือออกจากไขสันหลังทั้งซ้ายและขวา ตั้งแต่ระดับไขสันหลังส่วนลำคอไปจนถึงไขสันหลังส่วนกระดูกก้นกบ
· เส้นประสาทตามแขนขา (somatic nerve)
· เซลล์แกงเกลียน (ganglion cell) : เป็นเซลล์ประสาทชั้นนอก มีแอกซอนที่ยาว
นอกจากนี้ระบบประสาทส่วนนอกยังสามารถจำแนกประเภทตามการทำงานได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.) ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ (somatic nervous system : SNS)
เป็นระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่บังคับได้รวมทั้งการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
ระบบประสาทโซมาติก จึงนำกระแสประสาทจากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังหน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อลายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก การทำงานของระบบประสาทโซมาติกมักอยู่ในอำนาจจิตใจ
2.) ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ (autonomic nervous system ANS)
เป็นระบบประสาทที่ทำงานโดยอัตโนวัติ มีศูนย์กลางควบคุมอยู่ในสมองและไขสันหลัง ได้แก่ การเกิดรีเฟลกซ์แอกชัน (reflex action) และเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นที่อวัยวะรับสัมผัสเช่น ผิวหนัง กระแสประสาทจะส่งไปยังไขสันหลัง และไขสันหลังจะสั่งการตอบสนองไปยังกล้ามเนื้อโดยไม่ผ่านไปที่
สมอง ดังรูป
เมื่อมีเข็มมาทิ่มที่ปลายนิ้ว กระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปยังไขสันหลังโดยไม่ผ่านไปยังสมอง ไขสันหลังทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อที่แขนเกิดการหดตัว เพื่อดึงมือออกจากเปลวไฟทันที
ซึ่งระบบประสาทอัตโนวัติยังแบ่งได้อีก 2 ประเภทคือ
· ระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)
· ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic nervous system)
สวยย
ตอบลบสาระดี
ตอบลบสาระดี
ตอบลบเนื้อหาดีมาก
ตอบลบ