ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของเด็กหญิงสกุณา หวังดี ค่ะ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

ระบบกล้ามเนื้อ

1.2 กระบวนการสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ
         ระบบกล้าเนื้อเป็นระบบที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยจะอาศัยคุณสมบัติการหดตัวของใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแต่ละมัดจะยึดเกาะอยู่กับกระดูกด้วยเส้นเอ็น เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะรั้งกระดูกและข้อต่อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้
กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบใหญ่ของร่างกายมนุษย์และเป็นส่วนสำคัญที่สุดทำหน้าที่ในขณะที่มีการเคลท่อนไหวของร่างกาย และยังมีการเคลื่อนไหวของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การบีบตัวของเส้นโลหิต การบีบตัวของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อในร่างกายมีน้ำหนักประมาณ 2/5 ของน้ำหนักตัวส่วนใหญ่อยู่บริเวณรอบแขนและขา ซึ่งยึดติดกันอยุ๋โดยอาศัยข้อต่อ และเอ็น ทำให้ร่างกายประกอบเป็นรูปร่างและทรวดทรงขึ้นมา
1.2.1ชนิดของกล้ามเนื้อ
ในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 50 มัด แบ่งเป็น 3 ชนิด ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ และกล้ามเนื้อหัวใจ
1. กล้ามเนื้อลาย ( Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับกระดูก และมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย   กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ลักษณะเป็นเส้นยาวจึงเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber) ความยาวของใยกล้ามเนื้อจะเท่ากับมัดกล้ามเนื้อที่ใยกล้ามเนื้อนั้นเป็นองค์ประกอบอยู่ ใยกล้ามเนื้อมีลายตามขวาง และมีเยื่อหุ้มเซลล์ ์เรียกว่า ซาร์โคเลมมา ( sarcolemma) ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มอีกชั้นหนึ่งเรียกว่า เอนโดไมเซียม ( endomysium) ใยของกล้ามเนื้อลายมีนิวเคลียสหลายอันอยู่ด้านข้างของเซลล์ เรียงตัวกันเป็นระยะตลอดแนวความยาวของเซลล์ แต่ละเซลล์มีปลายประสาทมาเลี้ยง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัว ใยกล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กเรียกว่า ไมโอไฟบริล ( myofibril) แต่ละไมโอไฟบริลประกอบด้วยฟิลาเมนท์ ( filament) ซึ่ง มี 2 ชนิด คือ ชนิดหนา ( thick filament) และชนิดบาง ( thin filament) ใยกล้ามเนื้อหลายใยรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อ และมีเนื้อเยื่อประสานหุ้มเรียกว่า เพอริไมเซียม ( perimysium) มัดของกล้ามเนื้อขนาดเล็กนี้รวมกันเป็นมัดใหญ่และ มีเนื้อเยื่อประสานเรียกว่า อีพิไมเซียม ( epimysium) หุ้มอยู่ การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่ในอำนาจจิตใจจึงเรียกว่า กล้ามเนื้อโวลันทารี ( voluntary muscle)
2. กล้ามเนื้อเรียบ ( Smooth Muscle)   เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่อวัยวะภายในของร่างกายเช่น หลอดอาหาร หลอดเลือด เป็นต้น    กล้ามเนื้อหัวใจเป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายกระสวย แต่ละเซลล์   มีนิวเคลียสอันเดียวอยู่ตรงกลางเซลล์ เซลล์ไม่มีลาย ตามขวาง ตรงรอยต่อของเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะมีบริเวณถ่ายทอดคลื่นประสาทเรียกว่า อินเตอร์คอนเนกติง บริดจ์ ( interconnecting bridge) เพื่อถ่ายทอดคลื่น ประสาทไปยังเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้อยู่นอกอำนาจจิตใจ การหดตัวเกิดได้เองโดยมีเซลล์เริ่มต้นการทำงาน ( pace maker cell point) และการหดตัวถูกควบคุม โดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้นกล้ามเนื้อชนิดนี้ปลายประสาทจึงไม่ได้ไปเลี้ยงทุกเซลล์ ยกเว้นกล้ามเนื้อเรียบในบางส่วนของร่างกายมี ีปลายประสาทไปเลี้ยงทุกเซลล์ เช่น กล้ามเนื้อในลูกตา กล้ามเนื้อชนิดนี้เรียกว่า กล้ามเนื้อเรียบหลายหน่วย ( multiunit smooth muscle) ส่วนกล้ามเนื้อเรียบ ชนิดแรกที่กล่าวถึง ในตอนต้นเรียกว่า กล้ามเนื้อหน่วยเดียว ( single unit smooth muscle)
3. กล้ามเนื้อหัวใจ ( Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ พบที่หัวใจเพียงแห่งเดียว กล้ามเนื้อหัวใจมีเซลล์เป็นเส้นใยยาว มีลายตามขวาง เซลล์เรียงตัวหลายทิศทาง และเซลล์มีแขนงเชื่อมเซลล์อื่นเรียกว่า อินเตอร์คาเลทเตท ดิสค์ ( intercalated disc) มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางเซลล์เป็นรูปไข่ เซลล์บางกลุ่มเปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นเซลล์นำคลื่นประสาท ( special conducting system) ซึ่งได้แก่ เอ-วี บันเดิล ( A-V bundle) และเส้นใยเพอร์คินเจ ( perkinje fiber) การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่นอกอำนาจจิตใจ และทำงานได้เอง
1.2.2 หน้าที่ของกล้ามเนื้อ
1.ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
2.รักษารูปร่าง ท่าทาง ทรวดทรงของร่างกาย
3.สร้างความร้อนหรือความอบอุ่นให้กับร่างกาย
4.กล้ามเนื้อใบหน้าและคอใช้แสดงสีหน้า
5.ทำให้ของเหลวและของแข็งเคลื่อนไหวในร่างกาย เช่น การไหลเวียนของเลือด การขับถ่ายของเสีย
6.ทำให้อากาศเข้าสู่ร่างกายและไหลเวียนในร่างกายโดยกล้ามเนื้อกะบังลมช่วยในการหายใจเข้าและหายใจออก
1.2.3การดูแลรักษาระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อจะมีกำลังแข็งแรงเป็นมัดกล้ามเกิดจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีวิธีการบำรุงรักษาระบบกล้ามเนื้อ ดังนี้
1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสมและเพียงพอ อาหารประเภทโปรตีนจะช่วยในการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ห้ามเกิดภาวะขาดอาหารอย่างรุนแรงหรือประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อถูกทำลายในช่วงที่เข้าสู่วัยชรา อาจทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กลงไม่มีเรี่ยวแรงได้ เพราะโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์กล้ามเนื้อสลายตัว ส่วนอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อทำให้สามารถใช้กล้ามเนื้อในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ ได้แก่ การเพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อโดยการดึงข้อ วิดพื้น ลุกนั่ง เป็นต้น การฝึกความคล่องแคล่วโดยการวิ่งกลับตัว วิ่งเก็บของ เป็นต้น รวมถึงการยึดเหยียดกล้ามเนื้อ บริเวณต่าง ๆ และการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น ทนทานขึ้น
3. พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยคลายความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ หลังจากที่เราต้องทำงานมาตลอดวันหรือหลังออกกำลังกาย

4. มีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ เพราะการเคร่งเครียดหรือวิตกกังวลเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อแขน ขา หน้าตา มีการเกร็งตัวมากขึ้น จึงมักปวดกล้ามเนื้อตามคอ หลัง บางคนอาจปวดกระบอกตา เพราะกล้ามเนื้อรอบตาเกร็งตัว

5 ความคิดเห็น: